11.3.60

ชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์

วิธีชำระภาษีรถยนต์ออนไลน์ โดยธุรกิจประกันภัยออนไลน์ และเทคนิคขายประกันรถออนไลน์ การชำระภาษี+พรบ.ผ่านอินเตอร์เน็ต "เสียภาษีทัน ประหยัดน้ำมัน ประหยัดเวลา"





เคยลองใช้งานก็สะดวกดี เลยนำมาแนะให้เพื่อนๆลองใช้ดู
สำหรับใครที่สนใจลองเข้าไปดูที่ http://www.dlt.go.th/th/   บริการผ่านอินเตอร์เน็ต หรือ https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb/ แล้วลงทะเบียนเพื่อ Login เลือกหัวข้อ"ยื่นชำระภาษี"ก็จะมีให้ลงทะเบียนรถ  การชำระภาษีก็จะมี    
- หักผ่านบัญชีธนาคาร ค่าบริการธนาคาร 20บาท /คัน
- ชำระผ่านบัตรเครดิต คิดค่าใช้บัตรเครดิต +2%
- ชำระผ่านเคาน์เตอร์บริการ     ค่าบริการ 20บาท /คัน
แล้วก็มีค่าจัดส่งเอกสาร 40 บาท


1.ตามลิ้งนี้ครับ >>>  https://www.dlte-serv.in.th/dltWeb/

2.หลังจากเข้าเว็บไซค์มาแล้ว เราต้องทำการลงทะเบียน คลิ๊กที่ลงทะเบียนสมาชิกใหม่

3.กรอกข้อมูลส่วนตัวของสมาชิก

4.หลังจากนั้นจะได้รหัสผ่าน ให้เก็บหรือจดรหัสที่ได้มาไว้ให้ดี แล้วกดตกลง

5.หลังจากกดตกลงแล้วจะระบบจะพากลับมาหน้าแรก เพียงแคนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนสมัครสมาชิก จากนั้นก็ให้เรากดที่ ยื่นชำระภาษี เพื่อลงทะเบียนรถที่เราจะชำระภาษีรถประจำปี

6.เราได้ทำการสมัครใช้งานครั้งแรก หน้านี้ยังจะไม่มีข้อมูลของรถที่จะใช้บริการ ให้เรากดที่ลงทะเบียนรถ สามารถต่อภาษีล่วงหน้าได้ ไม่เกิน 3 เดือน รถไม่ค้างชำระภาษีรถยนต์ที่อายุเกิน 7 ปี และ รถจักรยานยนต์ที่อายุเกิน 5 ปี ไม่สามารถใช้บริการต่อภาษีรถยนต์ผ่านเน็ตได้

7.ให้เรากรอกข้อมูลรถที่เราจะทำการต่อภาษี แล้วกดตกลง

8.หลักจากกดตกลงถ้าข้อมูลถูกต้อง ระบบจะแสดงข้อมูลรถและข้อมูลการชำระค่าใช้จ่ายในการต่อภาษีรถถ้าหากยังไม่มี พ.ร.บ. ประกันภัยภาคบังคับ ก็สมารถซื้อ พ.ร.บ. ได้ในขั้นตอนนี้ ซื้อผ่านเว็บกรมขนส่งฯราคานี้ได้ส่วนลด 7% เลือกบริษัทประกันภัยและกรอกข้อมูลผู้เอาประกันให้ครบถ้วน ระบบจะแสดงค่าใช้จ่ายตามตาราง

9.ถ้าหากมี พ.ร.บ. แล้วก็เลือก บริษัทที่เราได้ทำ พ.ร.บ.รถ มา พร้อมกรอกเลขกรมธรรม์และวันสิ้นสุดวันคุ้มครอง  ระบบจะแสดงข้อมูลของเราให้เราตรวจสอบให้ดี กดตกลงแล้วก็กดพิมใบแจ้งชำระภาษีรถ

10.หลังจากนั้นก็จะได้ใบเรียกเก็บเงินพร้อมจุดชำระเงินและยอดเงินที่ต้องชำระ กดพิมใบเรียกเก๋็บแล้วก็ไปชำระได้เลยเพียงแค่นี้ก็เป็นแันเสร็จเรียบร้อย หลังจากชำระเงินใช้เวลาประมาณ 3-5 วันก็จะได้รับป้ายแสดงการเสียภาษีรถยนต์พร้อมใบเสร็จรับเงินและพ.ร.บ.รถยนต์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น